MY MENU

บทความ

บทความ

หัวข้อ
การวิจัยเพื่อปรับปรุงคุณภาพฟิล์มพลาสติกชีวภาพ
ผู้เขียน
ผู้ดูแลระบบ
วันที่สร้าง
08/03/2020
สิ่งที่แนบมา0
ชอบ
0
ดู
1978
เนื้อหา

งานตีพิมพ์เรื่องการใช้งานพลาสติกชีวภาพ  ‘Bioplastic applications’ ที่ปรากฏในรายงานวิจัยจากสถาบัน Wageningen UR Food & Biobased Research เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาได้พูดถึงฟิล์มพอลิแลคติก เอซิด (Polylactic acid หรือ PLA) ซึ่งเป็นพลาสติกที่มาจากวัตถุดิบที่ปลุกทดแทนได้ โดยกล่าวว่ามีความต้องการเพิ่มขึ้นเนื่องจากใช้พลังงานต่ำกว่าและปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์น้อยลง อย่างไรก็ตามฟิล์ม PLA ยังมีข้อด้อยในเรื่องความแข็งแรง เนื่องจากฟิล์ม PLA ฉีกขาดง่ายและมีเสียงดังขณะใช้งาน ขณะนี้จึงได้มีการวิจัยเพื่อปรับปรุงสมบัติของฟิล์ม PLA ทั้งแบบฟิล์มชั้นเดียว (Single-layered PLA film) และฟิล์มหลายชั้น (Multi-layered PLA film)

ฟิล์ม PLA ที่พัฒนาขั้นใหม่นี้มีความโปร่งใสและเป็นมันเงา แข็งแรงและยืดหยุ่นได้ดี ฟิล์ม PLA แบบชั้นเดียวเหมาะสำหรับใช้ในงานที่ต้องการให้มีการย่อยสลายเป็นปุ๋ย (Compostability) หลังจากสิ้นอายุการใช้งานตามมาตรฐาน EN13432 norm ส่วนฟิล์ม PLA แบบหลายชั้นมีการผสมสารเติมแต่งเพื่อเพิ่มความสามารถในการย่อยสลายเป็นปุ๋ย การนำ PLA ไปใช้งานถือเป็นการลดการใช้วัตถุดิบที่มาจากฟอสซิลและลดการใช้พลังงานเนื่องจาก ฟิล์ม PLA มีความแข็งแรงจึงสามารถเตรียมเป็นฟิล์มบางมากได้ 

โครงการวิจัยนี้เกิดขึ้นภายใต้ข้อตกลงในการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในระยะยาวระหว่างภาครัฐบาลและภาคธุรกิจ (MJA3 และ MEE) ซึ่งมีเป้าหมายในการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานในบริษัทต่างๆ 2% ต่อปี ถึงแม้ขณะนี้พลาสติกชีวภาพยังคงมีราคาสูงเมื่อเทียบกับพลาสติกทั่วไป แต่คุณสมบัติการกั้นอากาศและความชื้น (Barrier properties) รวมถึงความยืดหยุ่นของฟิล์ม PLA ทำให้มีความเหมาะสมในการนำไปใช้เป็นฟิล์มยืดสำหรับห่อผักและผลไม้ ในอนาคตคาดว่าฟิล์ม PLA จะมีราคาลดลงและมีการใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น

เรียบเรียงและแปลโดยสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
0
0

แก้ไขข้อคิดเห็น

ป้อนรหัสผ่านของคุณเพื่อแก้ไขโพสต์

ลบความคิดเห็นลบโพสต์

ป้อนรหัสผ่านเพื่อลบโพสต์